วันจันทร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การปลูกพืชไร้ดิน

การปลูกพืชไร้ดิน         


ความเป็นมาของการปลูกพืชไร้ดิน

การปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ที่มีหลักการวิทยาศาสตร์จริงๆ นั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 400 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี ค.ส. 1600  นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม  ชื่อ ยาน ฟาน เฮลมอนท์ (Jan Van Helmont) ได้ทำการทดลองปลูกต้นวิลโล ในดินที่บรรจุในท่อที่รดด้วยน้ำฝนเป็นเวลา 5 ปี ผลปรากฎว่าต้นวิลโล่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจาก 5 ปอนด์ เป็น 169 ปอนด์ ในขณะที่ดินที่ใช้ปลูกมีน้ำหนักหายไปเพียงเล็กน้อย จากการทดลองนี้เขาสรุปว่า พืชจะสามารถรับธาตุอาหารที่ใช้ในการเจริญเติบโตได้นั้นต้องอาศัยน้ำเป็นตัวนำพา  มากกว่าการได้รับแร่ธาตุโดยตรงจากดิน

ต่อมาในปี ค.ศ.1699  จอห์น วูดวาด (John Woodward) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการทดลองปลูกพืชในน้ำ โดยอาศัยธาตุอาหารจากดินในแหล่งต่างๆ มาละลายลงในน้ำ

ต่อมาในปี ค.ศ. 1860 ยูลิอุส ฟอน ซัคส์ (Julius von Sachs)  นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันนับเป็นคนแรกที่ได้คิดค้นสารละลายธาตุอาหารมาตรฐานขึ้น หลังจากนั้นจึงได้มี การคิดค้นสารละลายธาตุอาหารสูตรต่างๆ โดยนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิลเฮลม์ คน็อป (Willhelm Knop) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งสูตรสารละลายธาตุอาหารที่เขาคิดค้นขึ้นใน ค.ศ.1865 ก็ยังนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่เพิ่มธาตุอาหารเสริมบางชนิดเข้าไปเท่านั้น

จนกระทั่ง ค.ศ.1925 หรือเมื่อประมาณ 80 กว่าปีที่ผ่านมา  ศาสตราจารย์ วิลเลียม เอฟ. แกริก (William F. Gericke) ชาวอเมริกัน แห่งมหาลัยแคลิฟอร์เนีย ก็ได้พัฒนาเทคนิคการเติมอากาศลงในน้ำ และได้มีการทดลองใช้สารละลายธาตุอาหารพืช มาใช้ในการการปลูกมะเขือเทศด้วยสารละลายสูตรที่เขาดัดแปลงขึ้นในอ่างขนาดใหญ่ ปากอ่างปิดด้วยตะแกรงแล้วปลูกมะเขือเทศบนตะแกรงและปล่อยให้รากงอกยาวลงไปถึงสารละลายที่อยู่ด้านล่าง มะเขือเทศที่เขาปลูกสามารถเจริญเติบโตจนถึงระยะติดดอกออกผลและที่มีเถายาวถึง 25 ฟุต และเขาได้บรรญัติศัพท์ hydroponics ขึ้นจากรากศัพท์ภาษากรีก 2 คำ คือ Hydro ซึ่งแปลว่า "น้ำ" และ Ponos ซึ่งแปลว่า "การทำงาน"  จากนั้นแกริก ได้นำเทคนิคการปลูกนี้ไปใช้กับการปลูกในเชิงธุรกิจจนเป็นผลสำเร็จ  ทำให้ศาสตราจารย์ผู้นี้ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งเทคโนโลยีไฮโดรโพนิกส์สมัยใหม่ การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์จึงเริ่มแพร่หลายขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ที่มา : http://zen-hydroponics.blogspot.com/2014/09/blog-post.html

ข้อดีข้อด้อยของการปลูกพืชไร้ดิน

ข้อดี
1. สามารถทำการเพาะปลูกพืชในบริเวณพื้นที่ดินไม่ดีหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการปลูก
2. ใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อยและสามารถทำการผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ
3. ลดค่าขนส่งเพราะสามารถเลือกผลิตใกล้เขตชุมชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมฯ ที่รับซื้อ ทำให้มีศักยภาพในเชิงการค้าสูง
4. ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินและกำจัดวัชพืช
5. ใช้แรงงานน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

ข้อด้อย
1. เป็นระบบที่มีต้นทุนการผลิตเริ่มต้นค่อนข้างสูง เนื่องจากประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ มากมายและมีราคาแพง
2. จะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญและประสบการณ์มากพอสมควรในการควบคุมดูแล
3. ต้องมีการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ
4. ถ้าหากไม่มีความรู้และความสามารถในการจัดการที่ดีพอ อาจทำให้ผลผลิตมีปริมาณธาตุอาหารในผลผลิตพืช เช่น ไนเตรท สูงจนเป็นอันตรายต่อการบริโภคได้
5. วัสดุปลูกบางชนิดเน่าเปื่อยหรือเน่าสลายตัวยาก ทำให้อาจมีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้สารอาหารพืชที่ใช้แล้วหากไม่มีการจัดการที่ดีก็อาจสร้างปัญหาให้น้ำ เช่น ไนเตรท เป็นต้น


ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชไร้ดิน
โดยทั่วไปปัจจัยที่จำเป็นต้องมีในการเจริญเติบโต อันได้แก่ แสงอาทิตย์ น้ำ ธาตุอาหารพืช อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งที่ราก และส่วนเหนือดิน ในการปลูกพืชโดยทั่วไปจะมีดินและอากาศ เป็นส่วนที่จะให้ปัจจัยเหล่านี้ แต่ข้อเสียของดิน คือ
1. ดินในแต่ละพื้นที่จะมีคุณสมบัติที่ไม่แน่นอน ทั้งในด้านปริมาณแร่ธาตุและคุณภาพซึ่งมีความมากน้อยไม่เท่ากัน
2. ถ้าดินมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชก็จะทำให้การเจริญเติบโตก็จะไม่ดี ดังนั้นการปรับปรุงและแก้ไขดินให้เหมาะสมต่อการปลูกพืชบางครั้งอาจจะสามารถทำได้ง่าย แต่ในบางกรณี การปรับปรุงและแก้ไขดินอาจจะมีความยุ่งยากมากหรือต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
3. บางครั้งดินอาจจะเป็นที่หลบซ่อนของโรคและแมลง เมื่อนำดินนั้นมาทำการเพาะปลูกพืช โรคและแมลง ย่อมมารบกวนได้ง่าย

ขั้นตอนการปลูกพืชไร้ดิน

ความฝันเรื่องการไว้รับประทานเองคงเป็นความคิดของคนหลายๆ คนที่ต้องการปลูกผักที่ปลูกไว้ที่บ้าน แบบปลูกเอง ดูแลเองทุกขั้นตอน เพราะนอกจากจะสะอาดและปลอดภัยแล้ว ยังสร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ปลูกอีกด้วย สำหรับคุณ TheGolfMania จากเว็บไซต์พันทิป ดอทคอม ซึ่งตั้งใจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไว้ทานเอง และทำมาแล้วหลายครั้ง คราวนี้มาสู่ขั้นตอนการทำชุดปลูก ลองมาดูกันว่าเขาเริ่มต้นทำอย่างไรบ้าง
หลังจากกระทู้ Hydro ที่เขียนไปครั้งก่อนหลายกระทู้
http://pantip.com/topic/34269540 http://pantip.com/topic/34292743http://pantip.com/topic/34368484 http://pantip.com/topic/34412251 มีหลายๆ ท่านสอบถามเรื่องชุดปลูก วิธีการปลูก อุปกรณ์ รวมถึงอื่นๆ เข้ามามากมายพอสมควรเลยทีเดียวครับ  หลังจากที่ผมปลูกด้วยชุดปลูกครั้งก่อนไป มาถึงวันนี้ก็ปลูกไปได้ 2 รุ่น  ก็พอจะทราบปัญหาบางอย่างของชุดปลูกรุ่นแรกบ้างนิดหน่อยดังนั้นวันนี้ก็เลยมาทำการ Update การสร้างชุดปลูกใน Version ใหม่ให้อีกครั้งรวมถึงขั้นตอนการปลูกผักอย่างละเอียดมาให้ติดตามกันอีกครั้งครับ ลองมาติดตามกันเลย ^^
ขั้นตอนแรกคงหนีไม่พ้นเรื่องเดิมคือการเตรียมวัสดุครับ
- ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว  ผมใช้สีขาวเพราะจากการหาข้อมูลพบว่าสีขาวจะอมความร้อนน้อยกว่าสีฟ้า ^^ ผมใช้ชุดละ 9 เส้นครับ
- ข้อต่อ PVC งอ 90 ขนาด 2 นิ้ว แบบบาง 11 ตัว
- ข้อต่อ PVC 3 ทาง ขนาด 2 นิ้ว แบบบาง 8 ตัว
- บอลวาล์ว ขนาด 1/2 นิ้ว 9 ตัว
- ท่อ PVC ขนาด 1/2 นิ้ว 2 เส้น
- สายยางขนาด 1/2 นิ้ว 2 เมตร
- ถัง 200 ลิตร
- ข้องอเกลียวใน 1/2 นิ้ว 1 ตัว
- ท่อรับสายยาง ขนาด 1/2 นิ้ว 1 ตัว
หมายเหตุ : สามารถปรับแต่งจำนวนของของด้านบนตามสัดส่วนที่ต้องการสร้างได้เลยครับ
อุปกรณ์ และ เครื่องมือ
- สว่าน และ โฮล์ดซอล์ขนาด 38 1/2 MM
- ตัวตัด PVC หรือ อาจจะใช้เลื่อยตัดเหล็กธรรมดาก็ได้ครับ
- กาวต่อท่อ PVC
- น๊อตเกลียวปล่อยเบอร์ 7 ยาว นิ้วครึ่ง
เอาหละเมื่อเตรียมของได้แล้วก็เริ่มกันเลย ^^
ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้วที่ได้มานั้น  จะมีปลายด้านหนึ่งบานเพื่อให้ต่อท่อเข้าด้วยกันผมจึงต้อง ตัดปลายนี้ออกครับและเมื่อตัดแล้วความยาวจะลดลงนิดหน่อยประมาณ 10 CM แล้วจะได้ท่อหน้าตาแบบนี้ครับ
จะเห็นว่าผมเริ่มเอาข้องอมาสวมที่ปลายด้านหนึ่งของท่อเพื่อกำหนดเป็นทางน้ำเข้า และใน Version นี้จะได้เห็นว่าน้ำแรงพอๆกันหรือไม่ ^^
หลังจากนั้นก็ทากาวให้เรียบร้อยครับเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมออกมา จากประสบการณ์ส่วนตัวนั้นแนะนำว่าทากาวมากๆ ครับและก่อนทาควรจะเช็ดฝุ่นออกให้เรียบร้อยด้วย เมื่อทากาวต่อข้องอครบทุกท่อแล้วก็จะได้หน้าตาแบบนี้ครับ
หลังจากนั้นผมก็จะวัดระยะเพื่อสร้างความห่างที่เหมาะสมซึ่งจากการที่ทดลองปลูกมา 2 รอบแล้วก็พอจะบอกได้ว่าระยะที่เหมาะสมระหว่างแถวนั้นจะอยู่ราวๆ 10 -15 CM ครับ ผมก็ตัดเศษท่อเพื่อใช้เป็นตัววัดระยะเพื่อความสะดวกเลยครับ ซึ่งด้านนี้ผมจะใช้ท่อ PVC ขนาด 1/2 นิ้วแล้วยึดด้วยน๊อตเกลียวปล่อยระยะโครงชุดปลูกในฝั่งหัวจะได้ไม่เคลื่อน
เมื่อวัดระยะเรียบร้อยแล้วจากนั้นก็ยึดชุดปลูกกับท่อ 1/2 นิ้วได้เลยครับ
จากนั้นผมก็จะวัดระยะการเจาะเพื่อใส่ถ้วยปลูก ซึ่งก็ยังคงใช้ระยะเดิมครับ 10-15 CM แล้วแต่ชอบ โดยผมจะวัดระยะที่รางที่ 1 และ รางที่ 9 แล้วค่อยใช้ไม้ทาบเพื่อมาร์ครางที่ 2-8 ครับ

ทีนี้เราก็จะมาต่อส่วนท้ายของรางปลูกเพื่อรับน้ำจากปลายรางแล้วส่งน้ำกลับไปที่ถังพัก  โดยผมจะใส่ข้องอ 90 ไปที่รางแรกแบบนี้ครับ
และก็จะใช้ท่อ PVC ที่เป็นตัววัดระยะเพื่อให้ได้ระยะห่างที่เท่ากันกับด้านต้นราง
โดยรางที่ 2-9 ก็จะต่อปลายรางด้วยข้อต่อ 3 ทางครับ เมื่อต่อเสร็จแล้วจะได้หน้าตาแบบนี้ครับ
การยึดหัวท้ายของรางให้เรียบร้อยก่อนนั้นเราจะช่วยให้เราทำงานส่วนอื่นๆได้ง่ายขึ้น  หลังจากนั้นค่อยมาใส่ระบบน้ำเข้าโดยใช้ PVC ขนาด 1/2 นิ้วมาต่อกันแบบนี้ครับ  ชุดที่ 1 ให้ใส่ข้องอ90 ตามด้วย บอลวาล์วแบบนี้
ในขณะที่ชุดอื่นๆจะต่อ 3 ทางเข้ากับบอลวาล์วแบบนี้ครับ
เมื่อทำครบทั้ง 9 ชุดแล้วก็ลองเอาไปวางดูเพื่อตรวจสอบระยะและทำการประกอบ
และประกอบทั้ง 9 ชุดเข้าด้วยกันแบบนี้ครับ
จากนั้นก็วัดระยะทาบของรางที่ 1 และ 9 แล้วขีดเส้นเพื่อจัดระยะเจาถ้วยปลูกแล้วทำการเจาะด้วย สว่าน+โฮล์ดซอล์ ครับ
 เมื่อทำการเจาะเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว จะเห็นว่าจะมีขุยๆที่เป็นร่องรอยของการเจาะซึ่งถ้าไม่เอาออกจะมีปัญหาพอสมควรในช่วงที่ปลูกนะครับ
ผมจึงใช้หัวขัดเพื่อตัดขุยพวกนี้ออกซะ
ซึ่งเมื่อขัดเสร็จได้จะได้ความต่างกันมากๆเลยทีเดียว แบบนี้
ทีนี้เราก็มาใส่ระบบน้ำเข้า + ออกให้สมบูรณ์กัน
ผมใช้ถังพักน้ำที่เป็นปุ๋ยร่วมกัน 2 ชุดครับ  เพราะจากการคำนวณแล้วพบว่าช่วงที่ผักอายุ 35 วันขึ้นไปจะเป็นช่วงที่ใช้น้ำมากที่สุด 250 ต้น ใช้ราวๆ 30 ลิตรต่อวัน ดังนั้นจึงต้องวางถังน้ำไว้ระหว่างสองชุดแบบนี้
เมื่อต่อเรียบร้อยก็เทสระบบน้ำเข้าออก  รวมถึงปล่อยน้ำเพื่อล้างเศษจากการเจาะออกไปครับ
และเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ใส่ปุ๋ย + ปรับค่าให้เรียบร้อย (ส่วนนี้ผมจะอธิบายต่อในส่วนของการปลูกนะครับ)
เมื่อเทสระบบน้ำเรียบร้อยก็เอาต้นที่เพาะเอาไว้ลงรางปลูกได้เลย ^^
วันนี้เอาคร่าวๆ ประมาณนี้นะครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเขียนขั้นตอนการปลูกอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งครับ ^^
ภาพด้านล่างนี้จะเป็นภาพจากการปลูก 2 ชุดที่ผ่านมาครับผลที่ออกมาสำหรับผมถือว่าน่าพอใจครับ
25 วันแรกจะได้ประมาณนี้ครับ
ส่วนภาพนี้จะเป็นระยะที่ 35-39 วัน ซึ่งผมเก็บชุดแรกๆที่ระยะประมาณ 38-40 วันครับ
และภาพในส่วนนี้จะเป็นการปลูกในรอบที่ 2 ครั้ง ระยะที่เก็บก็เมื่อวันที่ 23/12 ซึ่งอายุ 37 วันครับ
ที่มา : http://home.sanook.com/8061/
กิจกรรมการเรียนรู้

คำสั่ง จงตอบคำถามต่อไปนี้ทุกข้อ
1. จงบอกความหมายและความสำคัญของการปลูกพืชไร้ดิน
2. จงบอกข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชไร้ดิน
3. จงบอกปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกแบบไร้ดิน
4. จงบอกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชไร้ดิน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น