วันจันทร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน้าที่และบทบาทของตนเอง

หน้าที่และบทบาทของตนเอง


ความหมายของบทบาทและหน้าที่
                  หมายถึง การปฏิบัติตนในสิ่งที่ถูกที่ควร ด้วยความรับผิดชอบตามสถานภาพของตนเอง
สมาชิกทุกคนในสังคมมีหน้าที่และบทบาทของตนเองเริ่มตั้งแต่งสังคมที่ไกล้ตัวที่สุดคือ ครอบครัว สู่โรงเรียน ชุมชนประเทศและโลก
ครอบครัว หมายถึง    ครอบครัว  ถึงแม้จะเป็นหน่วยเล็กหน่วยหนึ่งในสังคม  แต่หน่วยทางสังคมหน่วยเล็กหน่วยนี้   มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เป็นพื้นฐานของสังคม  เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกำเนิดของสมาชิกในสังคม  เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่อยู่ร่วมกันต้องมีการเรียนรู้และปรับตัว  เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้เป็นครอบครัวใหญ่ในสังคมอย่างสันติ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญแก่ครอบครัวมาเป็นเวลายาวนาน   ตั้งแต่เมื่อ     ปีพ.ศ. 2533 รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี  เป็นวันครอบครัวแห่งชาติด้วย  และเป็นที่สอดคล้องกับในโลกสากล  โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ ปี ค.ศ. 1994   (พ.ศ. 2537)       เป็นปีครอบครัวสากล: (International Year of the Family )
หน้าที่และบทบาทในฐานะพ่อแม่
  เมื่อภรรยาให้กำเนิดลูกน้อย ก็จะมีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้น คือบทบาทหน่าที่ของแม่ ในขณะเดียวกัน สามีก็จะเพิ่มบทบาทของพ่อไปพร้อมๆกันด้วย ในปัจจุบัน พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาอยู่ร่วมกับลูก หรือมีเวลาอยู่ร่วมกับลูกแต่ไม่สามารถใช้เวลาที่มีอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ก็เหมือนกับต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้การอยู่ร่วมกันไม่มีความสุข การที่สมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อกับแม่ มีวิธีการหรือจัดกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว อย่างมีคุณภาพ ก็จะทำให้ครอบครัวน่าอยู่ มีชีวิตที่เป็นสุขยิ่งขึ้น พ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูลูกให้เจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมดังนี้
                          1. ให้ความรักความอบอุ่น ความมั่นคงปลอดภัย
                          2. มีการพูดจาสื่อสารที่ดีต่อกัน
                          3. มีการส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตให้ลูก ฝึกให้้รู้จักช่วยเหลืองานบ้าน ฝึกให้ลูกได้ตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง
                          4. สอนให้ลูกทำความดี มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุญ
                          5. ส่งเสริมให้ลูกได้รับการศึกษาในวัยที่เหมาะสม
                          6. สิ่งสำคัญที่สุดของช่วงเวลาที่มีคุณภาพก็คือ พ่อแม่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกได้เห็น และเลียนแบบได้ ทั้งนี้การอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาว่าพ่อแม่ต้องอยู่กับลูกยาวนานแค่ไหน แต่ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่ปฏิบัติ อย่างไรกับลูก หรืออยู่ร่วมกับลูกอย่างไร

หน้าที่และบทบาทในฐานะลูกหลาน
1. ให้การเคารพและเชื่อฟังบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ในบ้านทุกคน มีสัมมาคารวะ มีมารยาทในการพูด ไม่แสดงกิริยาหยาบกระด้างต่อผู้อาวุโสและต่อบุคคลในครอบครัว
2. ช่วยเหลือการงานเท่าที่จะทำได้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระงานในครอบครัว เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน เลี้ยงน้อง เป็นต้น
3. มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้ เพื่อความมั่นคงในอนาคต
4. ปฏิบัติตนเป็นคนมีระเบียบวินัย ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือไม่สร้างความเสื่อมเสียให้ครอบครัว เช่น ไม่ลักขโมย ไมเที่ยวกลางคืน ไม่มั่วสุมกับเพื่อยต่างเพศและเสพยาเสพติด แต่งกายสุภาพตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เป็นต้น
5. มีความกตัญญู รู้จักช่วยเหลือพ่อแม่หรือบุคลอื่นในครอบครัว เช่น ดูแลเมื่อเจ็บป่วย หรือรับใช้ผู้อาวุดสในบ้านซึ่งเป็นผู้มีพระคุณแก่เรา
6. ช่วยเหลือครอบครัวในด้านเศรษฐกิจ โดยไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยช่วยประหยัดหรือช่วยเพิ่มรายได้ เช่น ปลูกผักเพื่อประกอบอาหารในครอบครัว หรือจำหน่ายของขวัญในเทศกาลปีใหม่ เป็นต้น
หน้าที่และบทบาทในฐานะพี่หรือน้อง
1. รักและห่วงใยกันในยามปกติ ยามเจ็บป่วย หรือเมื่อมีปัญหา โดยพูดคุยสอบถามกันเป็นประจำ
2. สามัคคีร่วมมือร่วมใจกันทๆงานและทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน
3. ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งการทำงานบ้านและการเตรียมตัวสอบ
4. คอยตักเตือนไม่ให้ประพฤติตนไม่เหมาะสม โดยอธิบายถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นและควรรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในฐานะสมาชิกของครอบครัว
1. บ้านน่าอยู่อาศัย เนื่องจากสมาชิกทุกคนแบ่งงานบ้านกันทำ และทุกคนมีความรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ
2. สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพราะทุกคนพูดจากันด้วยวาจาสุภาพอ่อนโยน มีเหตุผล
3. ทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี
กิจกรรมการเรียนรู้
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. เพราะเหตุใดสมาชิกในครอบครัวจึงต้องปฏิบัติตนตามหน้าที่และบทบาท
2.พ่อแม่ที่ดีควรมีหน้าที่และบทบาทต่อลูกอย่างไร
3. กิจกรรมใดบ้างที่ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
4.ลูกหลานที่ดีควรปฏิบัติตนต่อพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่อย่างไร
5. ในฐานะที่นักเรียนเป็นพี่ควรปฏิบัติต่อน้องอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น