วันจันทร์


กำหนดการสอน
รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ง31102   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
จำนวน 20 ชั่วโม  งปีการศึกษา 2559
ชั่วโมง
เรื่อง
ผลการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
1
  หน้าที่และบทบาทของตนเอง
1.    บอกความหมายของหน้าที่และบทบาทของตนเอง
2.    บอกหน้าที่และบทบาทในฐานะสมาชิกในครอบครัว
3.    อธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามหน้าที่และบทบาทในฐานะของสมาชิกของครอบครัว
1. ความหมายและหน้าที่ของบทบาท
2. หน้าที่และบทบาทในฐานะสมาชิกครอบครัว
3. ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามหน้าที่และบทบาทในฐานะของสมาชิกของครอบครัว
2-4
บ้านของเรา
1. บอกความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดบ้านได้
2. เลือกใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับงานบ้านแต่ละประเภท
3. ออกแบบและจัดตกแต่งบ้านได้
4. บอกความสำคัญของการเก็บรักษาอาหารได้
5. อธิบายแนวทางการเก็บรักษาอาหารได้
6. บอกความสำคัญของงานช่างในบ้านได้
7. เลือกใช้อุปกรณ์ในการต่อท่อน้ำพีวีซีและการติดตั้งก๊อกน้ำได้
8. เลือกใช้และดูแลรักษาซ่อมแซมโถส้วมชนิดนั่งราบหรือชักโครกได้
1. การดูแลรักษาและทำความสะอาดบ้าน
2. การจัดและตกแต่งบ้าน
3. การเก็บรักษาอาหาร
4. งานช่างในบ้าน
5
แต่งตัวให้ดูดี      
1. บอกความสำคัญของเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
2. เลือกใช้เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายได้เหมาะสมกับโอกาส สภาพอากาศ รูปร่างและสีผิว
3. ปฏิบัติตนไห้เหมาะสมตามมารยาททางสังคมได้




ความสำคัญและการเลือกใช้เสื้อผ้าและเครื่องแต่กาย

6-7
การปลูกพืชไร้ดิน
1. บอกความเป็นมาของการปลูกพืชไร้ดินได้
2. บอกความหมายและความสำคัญของการปลูกพืชไร้ดินได้
3. บอกข้อดีข้อเสียของการปลูกพืชไร้ดินได้
4. อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชไร้ดินได้
5. อธิบายขั้นตอนและวัสดุอุปกรณ์ของการปลูกพืชไร้ดินได้
การปลูกพืชไร้ดิน
8-9
งานดอกไม้สดของไทย
1. บอกความหมายและความสำคัญของงานดอกไม้สดของไทย
2. ประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทย

1.ความหมายและความสำคัญของงานดอกไม้สดของไทย
2.การประดิษฐ์งานดอกไม้สดของไทย
11-14
เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
1. บอกความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี
2. อธิบายระบบเทคโนโลยี
3. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
4. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์

1.เทคโนโลยี
2.ความสัมพันธ์ของงานเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
3.การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
15-16
การดำเนินการทางธุรกิจ
1. บอกความหมายของการดำเนินการทางธุรกิจได้
2. อธิบายองค์ประกอบในการดำเนินการทางธุรกิจ
3. อธิบายองค์การธุรกิจได้
4. เลือกใช้และทำงานเอกสารในองค์การธุรกิจได้
5. ทำบัญชีเบื้องต้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้
การดำเนินการทางธุรกิจ
17-19
การเตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพ 
1. อธิบายการเตรียมตัวหางานและพัฒนาบุคลิกภาพได้
2. แนะนำตนเองและความสามารถในการสัมภาษณ์งานได้
3. สร้างแฟ้มนำเสนอตัวเองได้
1. แนวทางการเข้าสู่อาชีพ
2. คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ
3.การเตรียมตัวหางานและพัฒนาบุคลิกภาพ
1
สอบกลางภาค
1
สอบปลายภาค
40
รวม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพ

 เตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพ

ที่มา : http://omsschools.com/filesAttach/large/1436078316.jpg


การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ
คนทุกคนต้องประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิต วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่ควรเลือกแนวทางการศึกษาเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต บางคนอาจเริ่มแนวทางเพื่อการประกอบอาชีพแล้วเลือกศึกษาเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพต่อไป หรือการเลือกอาชีพเป็นเรื่องที่สำคัญและทำให้วัยรุ่นเกิดความสับสนได้ เนื่องจากในเรื่องนี้จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่มาก นับตั้งแต่บุคคลที่ใกล้ชิดที่สุด และมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพมากที่สุด คือ พ่อแม่ บุคคลอื่นๆ ภายในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน เนื่องมาจากเด็กวัยรุ่นไทยยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของระบบการศึกษา สติปัญญา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ความนิยมของท้องถิ่น โรงเรียนและสังคมส่วนร่วม และวัยรุ่นเองก็ยังไม่ตระหนักชัดในความสนใจ ความถนัด ความต้องการ และลักษณะบุคลิกภาพของตนเองอย่างแท้จริงในการตัดสินใจเลือกอาชีพวัยรุ่นจะต้องคำนึงถึง

1. ความถนัดส่วนตัว
คนเราแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน การได้ทำงานหรือประกอบอาชีพที่ตนถนัดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานหรืออาชีพนั้นย่อมมีมาก ตรงข้ามถ้าได้ทำงานที่ตนเองไม่ถนัด นอกจากจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรแล้วยังทำให้ขาดความสุขในการทำงานนั้น ๆ อีกด้วย ความถนัดส่วนตัว เป็นสิ่งที่วัยรุ่นจะต้องค้นพบในตนเอง โดยจะต้องพิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ใช้พิจารณาโดยผิวเผินจากความชอบ ความสนใจเพียงอย่างเดียว คนบางคนมีความชอบ มีคามสนใจ แต่อาจจะไม่ได้มีความถนัดก็เป็นได้ ความถนัดจึงเป็นความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีเป็นพิเศษ เช่น ความถนัดทางตัวเลข ความถนัดในการพูด การใช้ภาษา ความถนัดในการแสดงถึงแม้ว่าการทำงานใด ๆ ย่อมต้องอาศัยการฝึกฝน การมีความรู้เบื้องต้น แต่ความถนัดก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงานให้ได้ดี
2. ความสนใจ
ความชอบในอาชีพนั้น ๆ โดยความเป็นจริงแล้วในวัยรุ่นเรามักจะสนใจและชอบอาชีพที่เด่นและโก้ มากกว่าจะพิจารณาอาชีพต่าง ๆ ที่เรามีความสามารถหรือแนวโน้มที่จะถนัดในอาชีพนั้นความสนใจ ความรักในการที่จะประกอบอาชีพนั้น ๆ ก็มีส่วนสำคัญอยู่บ้าง แต่ถ้าสนใจแล้วไม่ถนัดเลยก็จะไม่สามารถทำให้อาชีพนั้นเจริญก้าวหน้า เช่น วัยรุ่นหลายคนที่สนใจอาชีพที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก แต่กลับมีความถนัดในการพูด การใช้ภาษา ไม่ถนัดในด้านการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็ไม่ควรเลือกอาชีพในด้านนี้ เพราะการทำในสิ่งที่ไม่มีความถนัดจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ยาก
3. การเลือกอาชีพตามความคาดหวังของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องเลือกอาชีพตามที่พ่อแม่คาดหวังเพียงเพื่อให้พ่อแม่พอใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่วัยรุ่นจะต้องพิจารณาให้ดี การเลือกอาชีพโดยตามใจพ่อแม่โดยไม่พิจารณาถึงความพอใจ ความสนใจ ความถนัด และความสามารถของตนเอง อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ คำแนะนำของพ่อแม่นั้น เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความปรารถนาดี ประกอบกับความรู้และประสบการณ์ชีวิต ย่อมเป็นคำแนะนำที่ดี มีประโยชน์ต่อเรา แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย วัยรุ่นจะต้องมีแผนการเลือกอาชีพที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงของตัวเองให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้โดยจะต้อพิจารณาข้อมูลต่างๆ ให้รอบคอบ
4. การเลือกอาชีพตามเพื่อน
ในช่วงวัยรุ่นเพื่อจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อชีวิตเรามากที่สุด ดังนั้นจึงมีวัยรุ่นเป็นจำนวนมากที่ตัดสินใจเลือกเรียนเพ่อการประกอบอาชีพตามเพื่อนเพียงเพราะว่า ต้องการเรียนหรืออยู่ร่วมกลุ่มเดียวกันเพื่อนที่ใกล้ชิด เพื่อนอาจให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ แต่เราจำเป็นต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตนเองมากที่สุด
5. โอกาสที่จะเข้าทำงาน
ในปัจจุบันในการเลือกเรียนอะไรก็ตาม เราจะต้องคำนึงถึงโอกาสที่จะทำงานด้วย เช่น อาชีพครูในปัจจุบันจะมีการแข่งขันเพื่อสอบคัดเลือกเข้าทำงาน โดยมีผู้สมัครจำนวนมากที่ตำแหน่งน้อย โอกาสที่จะเข้าทำงานจึงยาก ถ้าเราเลือกเรียนเพื่อประกอบอาชีพนี้ก็จะต้องมั่นใจตนเอง ว่ามีระดับสติปัญญา มีความสามารถสูงกว่าธรรมดา เพื่อจะมีโอกาสที่จะได้มีงานทำ
6. การเลือกอาชีพจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาในด้านสุขภาพด้วย
คนที่สายตาสั้นไม่ควรเลือกอาชีพที่จะต้องใช้สายตามาก หรือในการประกอบอาชีพบางอย่างไม่รับคนที่มีปัญหาในทางสายตา เช่น อาชีพ แอร์โฮสเตส คนที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ฝุ่น แพ้ผงละออง ไม่ควรเลือกอาชีพที่ทำให้ต้องอยู่กับสิ่งที่จะทำให้เกิดแพ้ เช่น อาชีพช่างตัดผม เสริมสวย ช่างก่อสร้าง เป็นต้น
7. สติปัญญาหรือความสามารถ
การเรียนวิชาชีพขั้นสูงจำเป็นต้องอาศัยสติปัญญา ซึ่งอาจดูได้จากระดับคะแนนหรือผลการเรียนที่ผ่านมา นอกจากนั้นการสอบได้คะแนนสูงๆ ในวิชาใดก็พอจะชี้ให้เรารู้ได้ว่ามีแนวน้าที่จะเรียนได้ดี มีความสามารถสูงในวิชานั้นซึ่งควรนำมาพิจารณาเพื่อการตัดสินใจด้วย
8. ทุนทรัพย์ในการเตรียมตัวเพื่อการประกอบอาชีพนั้นๆ
ถ้าเราต้องการเป็นวิศวกร เราต้องเรียนวิศวกรรมในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูงมาก ผู้ปกครองมีทุนเพียงพอได้หรือไม่ เราจะสามารถหาทุนได้จากแหล่งใด
9. ข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวกับอาชีพที่เลือก โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะงาน คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพนั้น แนวโน้มในอนาคต รายได้หรือผลตอบแทน ข้อจำกัดและความเสี่ยง โอกาสก้าวหน้า วัยรุ่นจะต้องรู้จักนำข้อมูลหลายๆ ด้านมาเปรียบเทียบแล้วจึงตัดสินใจ นอกจากนั้นวัยรุ่นควรพิจารณาความรู้สึกของตนเองให้ถ่องแท้ เนื่องจากในช่วงวัยรุ่นความสนใจและความต้องการอาจจะมีลักษณะที่หวือหวา ไม่มีการไตร่ตรองโดยแท้จริง การเลือกอาชีพนอกจากจะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เรายังพบว่าลักษณะการเลือกอาชีพของวัยรุ่นมักเลือกเพราะอิทธิพลจากสื่อมวลชน และผู้ปกครอง เพื่อนฝูงอีกด้วย
ที่มา : http://guidance.obec.go.th/?p=1051

แนวทางการพัฒนาตนเอง
          แนวทางในการพัฒนาตนเองมีคุณลักษณะ ด้าน ดังนี้
          1. การแต่งกาย  การเอาใจใส่ดูแลการแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ทันสมัย รู้จักเลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับรูปร่าง สถานที่ เวลา จะทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น และผู้ที่พบก็อย่างคุยด้วย ผู้ที่แต่งตัวรุ่มร่ามมาเหมาะสมกับกาลเทศะ อาจทำให้ถูกตำหนิหรือวิจารณ์ได้ และท่าทางก็เป็นสิ่งสำคัญควรระมัดระวังตนเองให้มีกิริยามารยาทที่ดี เดินด้วยท่าทางที่สง่าผ่าเผย และหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกเชื่อถือมากขึ้น
          2. ความคิด  การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทำให้มองโลกกว้างขึ้น รู้สึกมีชีวิตมีคุณค่าไม่น่าเบื่อหน่าย การพัฒนาความคิดทำได้โดย
                   - ค้นหาความสนใจของตนเองเพื่อให้ทราบว่าชอบศึกษาค้นคว้าเรื่องอะไร
                   - รวบรวมความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจให้มากที่สุด
                   - ติดตามความก้าวหน้าหาความรู้ด้านนั้นๆ ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
                   - หมั่นอ่าน ทบทวนความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน
          3. การควบคุมตนเอง สังคมจะไม่ยอมรับผู้ที่ไม่ควบคุมตนเอง มีท่าทางฉุนเฉียว ก้าวร้าวเกินควร ในทางตรงกันข้ามสังคมจะยกย่องนับถือผู้ที่อดกลั้น ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ การฝึกควบคุมตนเองต้องพยายามคิดก่อนทำโดยคิดว่าสิ่งที่อยากทำกับสิ่งที่ควรทำเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ถ้าสิ่งที่อยากทำเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ก็ต้องตัดละทิ้งออกไป การคิดก่อนทำจะทำให้ไม่เสียใจในภายหลัง และได้ทำในสิ่งที่มั่นใจยิ่งขึ้น
          4. การผูกมิตร ความสุขอย่างหนึ่งคือ การได้เป็นมิตรกับผู้อื่น นอกจากจะเป็นเพื่อนไม่ได้ เหงาและว้าเหว่แล้ว มิตรยังให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือดร้อน การผูกมิตรมีหลักการ ดังนี้
                   - เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก คือ ผูกมิตรกับผู้ที่ต้องการคบหาสมาคมกับเรา ถูกนิสัยใจคอกัน และสุดท้ายคือ บุคคลที่เราต้องการคบหาด้วย
                   - ควรเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร สิ่งสำคัญคือ ไม่มีใครชอบบุคคลที่พูดมาก อวดรู้ ดูถูกหรือชอบตำหนิผู้อื่น ทุกคนตองการให้ผู้อื่นยกย่องชมเชย ชอบให้ผู้อื่นฟังเมื่อตนพูด และจะสนใจเรื่องราวของตนเองมากกว่าผู้อื่น ทุกคนชอบผู้ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
                   - ทักทายผู้อื่นเสมอ อย่าลืมกล่าวคำว่า ขอโทษ ขอบคุณ และให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
    เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน 
          อันดับแรกในการ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน คือการแต่งกายให้เรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์เกิดความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ โดยส่วนใหญ่การสัมภาษณ์งานจะค่อนข้างเป็นทางการ ดังนั้น การเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ควรแต่งกายให้ดูสะอาด เรียบร้อย และก่อนออกจากบ้าน ควรสำรวจตัวเองอีกครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองค่ะ

    หัวข้อสัมภาษณ์งาน 
          หัวข้อสัมภาษณ์งาน ก็เป็นอีกเรื่องที่ผู้ไปรับสัมภาษณ์งานควรศึกษาและ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้พร้อม เพื่อเวลาถูกสัมภาษณ์จะได้ไม่ตื่นเต้นและเกิดอาหารประหม่า
          ทั้งนี้หลักในการตอบคำถาม หัวข้อสัมภาษณ์งาน ควรตอบให้ตรงประเด็น กระชับ ได้ใจความ มีความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงยกตัวอย่างเพื่อให้คำตอบชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญข้อมูลต้องถูกต้องและเป็นความจริงด้วย และวันนี้เรามีตัวอย่าง หัวข้อสัมภาษณ์งาน มาให้อ่าน และแนะนำไปปรับใช้เวลาสัมภาษณ์งานมาฝากค่ะ




 เล่าประวัติเกี่ยวกับตัวคุณ 
          แนะนำว่าคุณควรใช้เวลาในการแนะนำตัวเองเพียงสั้น ๆ แค่ 2-3 นาทีพอ เน้นแบบกระชับได้ใจความ รวมถึงบอกว่าตัวเองเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นง่าย รู้จักปรับตัว ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น และเรียนรู้เร็ว
          ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เล่าทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวคุณตั้งแต่สมัยเรียนประถม จนถึงทำงาน โดยไม่มีอะไรน่าสนใจ หรือไม่มีอะไรเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่คุณสมัครมา

2. ทำไมคุณถึงคิดว่าเหมาะกับงานนี้
          หัวข้อนี้แนะนำให้เล่าประสบการทำงานที่ผ่านมา และความสามารถที่เกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่คุณสมัครมา ว่าอะไรที่ทำให้คุณเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้  และคุณมีจุดเด่นเหมาะกับงานตำแหน่งนี้มากกว่าคนอื่น ๆ ตรงไหนบ้าง
          สำหรับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน ก็ให้บอกจุดเด่นในการทำกิจกรรมในสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา หากคุณไม่ค่อยทำกิจกรรม อาจบอกว่าเพราะคุณทุ่มเทกับเรื่องเรียน พร้อมยกตัวอย่างเกรดเฉลี่ยสวย ๆ หรือวิชาที่คุณเรียนแล้วได้เกรดดี ๆ และเหมาะกับตำแหน่งงานมาประกอบการอธิบายก็ได้

          อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ตอบคำถามสั้น ๆ และไม่มีเหตุผลอธิบายประกอบ เช่น "ด้วยประสบการณ์ทำงาน 2 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าสามารถทำงานนี้ได้"

3. คุณคิดว่าตำแหน่งนี้ต้องรับผิดชอบงานอะไรบ้าง
          แนะนำว่า คุณควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตงานในตำแหน่งที่คุณไปสัมภาษณ์ก่อน และเวลาตอบต้องสั้น กระชับได้ใจความ  อย่าตอบคำถามแบบมั่นใจในตัวเองจนเกินไป หรือตอบแบบสร้างภาพพจน์ไม่ดีให้กับตัวเอง เช่น "ทราบมาว่าที่นี่กำลังขาดผู้จัดการฝ่ายการตลาด ด้วยประสบการณ์งาน 3 ปีในด้านนี้ ทำให้คิดว่าสามารถแก้ปัญหานี้ได้"

4. คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
          อันดับแรกที่คุณต้องไปสัมภาษณ์งาน สิ่งที่คุณควรรู้คือ ข้อมูลองค์กรที่คุณจะไปสัมภาษณ์ รวมถึงขอบเขตงานในตำแหน่งงาน ที่ เช่น ผลิตภัณฑ์ กลุ่มลูกค้า คู่แข่ง ภาพลักษณ์องค์กร ที่มาและประวัติขององค์กร ฯลฯ
          อย่างไรก็ตาม คำตอบไหนที่คุณไม่แน่ใจ อย่าพยายามที่จะตอบ เพราะอาจจะทำให้ผู้สัมภาษณ์งานรู้ได้ว่า คุณไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรและตำแหน่งงานมา หากคำตอบไม่แน่ใจ คุณอาจจะถามกลับผู้สัมภาษณ์งาน เพื่อให้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ แต่ทั้งนี้อย่าลืมบอกว่า คุณได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรมา และความสนใจที่อยากจะทราบเกี่ยวกับองค์กรเพิ่มเติม

5. อะไรคือจุดมุ่งหมายระยะยาวในการทำงานของคุณ
          แนะนำให้พูดถึงสิ่งที่อยากทำในอนาคต และต้องบอกวิธีที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ซึ่งควรจะเกี่ยวข้องกับงานที่สัมภาษณ์อยู่ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ตอบในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัครอยู่  เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ

6. ถ้าได้งานนี้ คุณคิดว่าจะทำงานที่นี่นานเท่าไหร่
          ควรตอบคำถามที่เน้นและพุ่งประเด็นไปที่การทุ่มเทงานของคุณ เช่น อาจจะตอบว่าตราบใดที่งานมีความยากและท้าทาย ก็จะขอจะทุ่มเทความสามารถของตัวเองให้เต็มที่ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับองค์กร อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบอกระยะเวลาไป เช่น มีแผนไปเรียนต่ออีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือทางบ้านมีแผนให้ไปช่วยธุรกิจที่บ้าน

7. อะไรคือจุดอ่อนของคุณ
          ควรเลือกจุดอ่อนที่เป็นความจริงและกำลังปรับปรุงหรือพัฒนา เช่น ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง  ซึ่งตอนนี้กำลังเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

8. ทำไมคุณถึงลาออกจากงานเก่า
          ตอบความจริงให้มากที่สุด แต่ถ้าความจริงมันเลวร้ายก็อย่าตอบหมด เนื่องจากว่าผู้สัมภาษณ์ อาจขออนุญาตติดต่อบุคคลอ้างอิงเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้น  ทั้งนี้แนะนำว่า ไม่ควรวิพากษณ์วิจารณ์เกี่ยวกับองค์กร เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานเก่าที่คุณลาออกมา เพราะมันจะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณดูไม่ดี

9. อะไรคือสิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบในงานเก่า (หรืองานที่กำลังทำอยู่)
          แนะนำว่าควรบอกสิ่งที่ชอบมากกว่าสิ่งที่ไม่ชอบ และให้คำอธิบายรวมถึงเหตุผลว่าทำไมเราจึงคิดเช่นนั้น และไม่แนะนำให้บอกในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องงาน หรืออ้างอิงถึงบุคคล เพราะนั่นหมายถึงคุณกำลังวิจารณ์คนอื่น และไม่จำเป็นต้องเล่าทุกอย่างที่แย่ ๆ เกี่ยวกับงาน เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา

10. อะไรคือสิ่งที่คุณประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต
          คุณอาจพูดถึงการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งในการทำงาน หรือตลอดระยะเวลาที่ทำงานมามีแต่ความราบรื่นไม่เคยมีปัญหากับลูกค้า หรือเพื่อนร่วมงาน ถ้าเป็นผู้สมัครที่เพิ่งจบการศึกษา อาจจะพูดถึงเกรดเฉลี่ย หรือความภาคภูมิใจที่สามารถสอบเข้ามหาลัยที่มีชื่อเสียงได้

11. คุณมีวิธีจัดการกับความกดดันอย่างไร 
          คำตอบที่ควรตอบคือ บอกว่า ต้องตั้งสติ ไม่ร้อนรนไปกับสิ่งที่มากดดันให้เกิดความเครียด แต่ควรแปรความกดดันเป็นพลังงานที่จะนำไปพัฒนาสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ตลอดจนผลักดันให้ตัวคุณก้าวข้ามอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จให้จงได้ พร้อมยกตัวอย่างวิธีจัดการกับความกดดันที่เคยเกิดขึ้นกับคุณ

12. คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่ 
          แนะนำให้คุณลองสืบข้อมูลดูก่อนว่าส่วนใหญ่ด้วยตำแหน่งและประสบการณ์ทำงานเงินเดือนเท่าไหร่ แล้วเสนอเป็นระดับช่วงเงินเดือนจะดีกว่าระบุเป็นตัวเลขตายตัว เพราะจะทำให้คุณสามารถต่อรองเงินเดือนจากความสามารถเฉพาะตัวของคุณได้ 

13. คำถามสุดท้ายคุณมีอะไรจะถามไหม 
          ตัวอย่างคำถามที่ควรถามเช่น  ตำแหน่งของดิฉันอยู่ในตำแหน่งใดในโครงสร้างของบริษัท, เวลาทำงานปกติคือเวลาใด, กรุณาบอกคร่าว ๆ ถึงเป้าหมายของบริษัท เป็นต้น

          คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน 
  • แนะนำให้ฝึกตอบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื่องจากบางบริษัทอาจจะสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ 
  •  ฝึกตอบคำถามหน้ากระจกและสำรวจบุคลิกภาพของตัวเอง 
  •  เวลาตอบคำถามควรสบตากับผู้สัมภาษณ์  
  •  ไม่ควรเท้าคาง หรือโต๊ะสัมภาษณ์  
  •  ตอบคำถามแบบมั่นใจ พูดจาฉะฉาน 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การดำเนินการทางธุรกิจ

 การดำเนินการทางธุรกิจ


  ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรือ กำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น
ธุรกิจคือกระบวนการของธุรกิจที่ ประกอบไปด้วยการผลิตสินค้า หรือ การให้บริการตามความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งการจำหน่ายสินค้า โดยได้รับกำไรเป็นผลตอบแทน จากความหมายทำให้ สามารถจำแนกส่วนประกอบสำคัญของธุรกิจได้แก่
การผลิต (Productions) คือ การดำเนินกิจกรรมการผลิตต่าง ๆ อาทิเช่น วัตถุดิบสำหรับการผลิต สินค้าสำเร็จรูป ผลิตผลทางการเกษตร เป็นต้น
· การบริการ (Services) คือ การดำเนินกิจกรรมของธุรกิจเกี่ยวกับการ ให้บริการ ที่สามารถสนองตอบความพึงพอใจของลูกค้า เช่น การให้บริการที่ปรึกษา ทางการเงิน การให้บริการโรงแรม การขนส่ง เป็นต้น
การจัดจำหน่าย (Distributions) คือ การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการ กระจายและจำหน่ายสินค้าทั้งสินค้าอุตสาหกรรม และ สินค้าสำหรับผู้บริโภค
·กำไร (Profit) คือ ผลตอบแทนที่ผู้ดำเนินธุรกิจจะได้รับจากการดำเนินงาน โดยเกิดจากผลต่างระหว่างรายได้ของธุรกิจและต้นทุนในการดำเนินงาน ดังนั้น กำไรจึงเป็นสิ่งจูงใจในการดำเนินธุรกิจอย่างไรก็ตามผู้ดำเนินธุรกิจต้องรับความเสี่ยง จากการดำเนินงานด้วยเช่นกัน

ความสำคัญของธุรกิจ
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่เหมือนกันอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทแรกเป็นความต้องการที่จำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต (Needs) ได้แก่ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ส่วนความต้องการอีกประเภทหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์อยากมี (Wants) แต่ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ มนุษย์ก็ยัง สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตัวอย่างเช่น รถยนต์ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของมนุษย์ เพราะธุรกิจเป็น แหล่งผลิตสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้ง 2 ประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว
สินค้าคือ สิ่งของที่มีตัวตน สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น รถยนต์ อาหาร เสื้อผ้า เป็นต้นตัวอย่างของธุรกิจที่เป็นแหล่งผลิตสินค้า เช่น โรงงานผลิต รถยนต์ โรงงานผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น สำหรับการให้บริการนั้น หมายถึง สิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่สามารถกำหนดราคา เพื่อซื้อขาย กันได้ ตัวอย่างเช่นการให้บริการของสถานเริงรมย์ บริการเสริมสวย บริการซักรีด บริการขนส่ง บริการด้านการสื่อสารของสถานที่ให้บริการเฉพาะนั้น ๆ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของธุรกิจ (Business Goals)
· เพื่อความมั่นคงของกิจการ เมื่อธุรกิจเริ่มดำเนินการขึ้น เจ้าของธุรกิจก็มีความประสงค์จะผลิตสินค้า หรือบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ต่อไป อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีที่สิ้นสุด
· เพื่อความเจริญเติบโตของธุรกิจ นอกจากความมั่นคงของกิจการแล้ว ธุรกิจยังต้องการที่จะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยการขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น มีสาขาเพิ่มขึ้น มีพนักงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางการเงินและฐานะทางสังคม
· เพื่อผลประโยชน์หรือกำไร สิ่งที่จูงใจให้เจ้าของธุรกิจดำเนินธุรกิจต่อไป คือ กำไร ถ้าธุรกิจไม่มีกำไรกิจการนั้นก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ การที่ธุรกิจจะมีกำไรได้นั้นคือ ต้องจำหน่ายสินค้าหรือได้รับค่าบริการในราคาสูงกว่าค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนที่ได้เสียไปในการผลิตสินค้าหรือบริการนั้น
· เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม การดำเนินธุรกิจจะต้องคำนึงถึงจารีตประเพณีศีลธรรมอันดีงามของสังคมด้วย ธุรกิจจะต้องไม่ดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อประเพณี ศีลธรรมอันดีงามของสังคม ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงผู้บริโภค คำนึงถึงสภาพแวดล้อมต้องช่วยพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของสังคมให้ดีขึ้น เช่น การไม่ปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลอง การไม่ผลิตสินค้าที่มีสารพิษตกค้าง การไม่ตัดไม้ทำลายป่า การไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ฯลฯ

ที่มา :http://thenon0800.blogspot.com/

องค์การธุรกิจ
ในการประกอบ ธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องตัดสินใจเลือกรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเองว่าจะดำเนินงานในรูปแบบองค์กรธุรกิจประเภทใด ซึ่งองค์กรธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีวิธีดำเนินงานผลดีและผลเสียที่แตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะเจ้าของธุรกิจได้ 6 รูปแบบดังนี้

กิจการเจ้าของคนเดียว

กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียวเรียกว่า กิจการเจ้าของคนเดียว ควบคุมการดำเนินงานเองทั้งหมดคนเดียว ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย การทำไร่ การทำนา แผงลอยมีลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว คือ มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย และเป็นผู้ที่ต้องมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้ การดำเนินงานหรือการควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว อีกทั้งเป็นผู้ที่ ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียวเลยนั่นเอง

กิจการห้างหุ้นส่วน
กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการเรียกว่ากิจการห้างหุ้นส่วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ซึ่งธุรกิจประเภทนี้สืบต่อมาจากธุรกิจเจ้าของคนเดียว มีลักษณะของกิจการห้างหุ้นส่วน ดังนี้ มีผู้ร่วมเป็นหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำสัญญาร่วมกันดำเนินงาน มีการร่วมกันลงทุนโดยนำเงินสด ทรัพย์สินหรือแรงงานมาลงทุนตามข้อตกลง การกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน ส่วนการแบ่งผลกำไรก็เป็นไปตามข้อตกลงที่ทำสัญญากันไว้ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ต้องใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบหน้าชื่อของห้างหุ้นส่วนเสมอธุรกิจ
กิจการบริษัทจำกัด
คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่าๆกัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
บริษัทเอกชนจำกัด คือ บริษัทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นมีมุลค่าเท่าๆกัน โดยมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่เจ็ดคนแต่ไม่ถึง หนึ่งร้อยคน ผู้ถือหุ้นทุกคนต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมุลค่าหุ้นที่ตนถือเท่านั้น และคุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่เป็นข้อสาระสำคัญ
บริษัทมหาชนจำกัด หมายถึง บริษัทประเภทซึ่งตั้งด้วยความประสงคืที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
กิจการสหกรณ์
คือธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้ง ลงทุน ดำเนินการและเป็นเจ้าของร่วมกันด้วยความสมัคร มีลักษณะคือ เป็นการร่วมลงทุนของบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยไม่จำกัดจำนวน มีการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของบุคคลที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่คำนึงถึงสินทรัพย์ เป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินงานสหกรณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในหมู่สมาชิกโดยไม่คำนึงถึงผลกำไร และที่สำคัญที่สุดเลยนั่นคือการจัดตั้งมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการสหกรณ์ มี 6 ประเภท ได้แก่
สหกรณ์เกษตรกร มีหน้าที่ ในการจัดหาและให้บริการแก่สมาชิกในด้านการผลิตการเกษตร
สหกรณ์ประมง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและประกอบอาชีพด้านการประมง รวมถึงการจัดหาเงินทุนและอุปกรณ์เกี่ยวกับการประมงมาจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาถูก
สหกรณ์นิคม เป็นสหกรณ์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิกในการประกอบอาชีพรวมถึงการจัดหาและอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก
สหกรณ์ร้านค้า เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการจัดหาสินค้าอุปโภค บริโภคจำหน่ายแก่สมาชิกในราคายุติธรรม
สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการแก่สมาชิกในด้านสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น สหกรณ์ไฟฟ้า สหกรณ์แท็กซี่ รถรับจ้าง สหกรณ์การเคหสถาน เป็นต้น
สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ธนกิจ เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมเงินในหมู่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมเงินในยามจำเป็นด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ
กิจการแฟรนไชส์
อีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือ ธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ มี 2 ประเภทคือ
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้สินค้าและชื่อการค้า เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย หรือผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานหรือตัวแทนจำหน่าย ในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้า โดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน เช่น ตัวแทนจำหน่ายน้ำอัดลมโคคา-โคล่า สถานีบริการน้ำมันเชลล์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด เป็นต้น
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้าหรือบริกี่โดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน เช่น พิซซ่าฮัท เคเอฟซี เซเว่น-อีเลฟเวน เป็นต้น

กิจการรัฐวิสาหกิจ
คือ องค์กรของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐบาลมีทุนรวมอยู่ด้วย เกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่างระบบราชการและระบบธุรกิจจำแนกประเภทได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะการจัดตั้ง
2. จำแนกตามรายได้ที่นำส่งแก่รัฐ
 ที่มา : 
http://nattiyacomm4.blogspot.com/

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี


เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ที่มา : http://405909010.blogspot.com/2016/11/blog-post.html
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  ในยุคของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรหมแดน ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในปัจจุบันเราจึงได้พบเห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานต่าง ๆ จำนวนมาก
เทคโนโลยี คือ การประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม
ตลอดจนการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์ การศึกษา การค้า และอุตสาหกรรม
 สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เครื่องหมายหรือวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม ประมวลผลเก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศ
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สามารถทำให้มนุษย์ทำงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำมากยิ่งขึ้น
2. ช่วยด้านการบริการ มีการใช้ระบบฐานข้อมูลในเครือข่าย ผู้ที่ต้องการใช้บริการก็จะสามารถ ใช้ระบบฐานข้อมูลจากสถานที่หรืเวลาใดก็ได้
3. ช่วยดำเนินการในหน่วยงาน เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดระบบการทำงาน
4. ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น การรับข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการบันทึกข้อมูลรูปภาพด้วยกล้องดิจิทัลที่มา : http://www.seekan.ac.th/it_com/lesson_03_1.html
ประโยชน์ของเทคโนโลยี
-   ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แถมยังช่วยพัฒนาระบบอารายธรรมโดยทางอ้อมอีกด้วย
เรื่องราวจากการเริ่มต้นเทคโนโลยี ยาวนานจนบัดนี้ทำให้มนุษย์เราแทบไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีไปได้แล้ว
-ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น
-ช่วยให้เราทันสมัย
-ช่วยประหยัดเวลา
-ช่วยในการทำงาน
โทษของเทคโนโลยี
                     เทคโนโลยีถือได้ว่ามีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนการสอน  การทำงานต่างๆ  และการติดต่อสื่อสารซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง   แต่ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักใช้ก็จะมีโทษต่อมนุษย์เช่นกันเช่นมีผลทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและอาจทำให้มนุษย์ขี้เกียจทำงานมากขึ้นเพราะอันเนื่องมาจากความสะดวก  สบายรวดเร็วเกินไป

กิจกรรมการเรียนรู้

คำชี้แจง     ให้นักเรียนเติมข้อความลงในกรอบที่กำหนดให้ครบถ้วนสมบูรณ์

                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                            


ความหมายของเทคโนโลยี


ความสำคัญ ของเทคโนโลยี


2.

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยี


                                                                                                                                                            
    
                                                                                                                                                       
                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                            

                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                            
                                                                                                                                                            

จุดมุ่งหมายของการใช้เทคโนโลยี


3.

4.