วันจันทร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพ

 เตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพ

ที่มา : http://omsschools.com/filesAttach/large/1436078316.jpg


การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ
คนทุกคนต้องประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิต วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่ควรเลือกแนวทางการศึกษาเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต บางคนอาจเริ่มแนวทางเพื่อการประกอบอาชีพแล้วเลือกศึกษาเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพต่อไป หรือการเลือกอาชีพเป็นเรื่องที่สำคัญและทำให้วัยรุ่นเกิดความสับสนได้ เนื่องจากในเรื่องนี้จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่มาก นับตั้งแต่บุคคลที่ใกล้ชิดที่สุด และมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพมากที่สุด คือ พ่อแม่ บุคคลอื่นๆ ภายในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน เนื่องมาจากเด็กวัยรุ่นไทยยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของระบบการศึกษา สติปัญญา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ความนิยมของท้องถิ่น โรงเรียนและสังคมส่วนร่วม และวัยรุ่นเองก็ยังไม่ตระหนักชัดในความสนใจ ความถนัด ความต้องการ และลักษณะบุคลิกภาพของตนเองอย่างแท้จริงในการตัดสินใจเลือกอาชีพวัยรุ่นจะต้องคำนึงถึง

1. ความถนัดส่วนตัว
คนเราแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน การได้ทำงานหรือประกอบอาชีพที่ตนถนัดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานหรืออาชีพนั้นย่อมมีมาก ตรงข้ามถ้าได้ทำงานที่ตนเองไม่ถนัด นอกจากจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรแล้วยังทำให้ขาดความสุขในการทำงานนั้น ๆ อีกด้วย ความถนัดส่วนตัว เป็นสิ่งที่วัยรุ่นจะต้องค้นพบในตนเอง โดยจะต้องพิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ใช้พิจารณาโดยผิวเผินจากความชอบ ความสนใจเพียงอย่างเดียว คนบางคนมีความชอบ มีคามสนใจ แต่อาจจะไม่ได้มีความถนัดก็เป็นได้ ความถนัดจึงเป็นความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีเป็นพิเศษ เช่น ความถนัดทางตัวเลข ความถนัดในการพูด การใช้ภาษา ความถนัดในการแสดงถึงแม้ว่าการทำงานใด ๆ ย่อมต้องอาศัยการฝึกฝน การมีความรู้เบื้องต้น แต่ความถนัดก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงานให้ได้ดี
2. ความสนใจ
ความชอบในอาชีพนั้น ๆ โดยความเป็นจริงแล้วในวัยรุ่นเรามักจะสนใจและชอบอาชีพที่เด่นและโก้ มากกว่าจะพิจารณาอาชีพต่าง ๆ ที่เรามีความสามารถหรือแนวโน้มที่จะถนัดในอาชีพนั้นความสนใจ ความรักในการที่จะประกอบอาชีพนั้น ๆ ก็มีส่วนสำคัญอยู่บ้าง แต่ถ้าสนใจแล้วไม่ถนัดเลยก็จะไม่สามารถทำให้อาชีพนั้นเจริญก้าวหน้า เช่น วัยรุ่นหลายคนที่สนใจอาชีพที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก แต่กลับมีความถนัดในการพูด การใช้ภาษา ไม่ถนัดในด้านการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็ไม่ควรเลือกอาชีพในด้านนี้ เพราะการทำในสิ่งที่ไม่มีความถนัดจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ยาก
3. การเลือกอาชีพตามความคาดหวังของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องเลือกอาชีพตามที่พ่อแม่คาดหวังเพียงเพื่อให้พ่อแม่พอใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่วัยรุ่นจะต้องพิจารณาให้ดี การเลือกอาชีพโดยตามใจพ่อแม่โดยไม่พิจารณาถึงความพอใจ ความสนใจ ความถนัด และความสามารถของตนเอง อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ คำแนะนำของพ่อแม่นั้น เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความปรารถนาดี ประกอบกับความรู้และประสบการณ์ชีวิต ย่อมเป็นคำแนะนำที่ดี มีประโยชน์ต่อเรา แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย วัยรุ่นจะต้องมีแผนการเลือกอาชีพที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงของตัวเองให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้โดยจะต้อพิจารณาข้อมูลต่างๆ ให้รอบคอบ
4. การเลือกอาชีพตามเพื่อน
ในช่วงวัยรุ่นเพื่อจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อชีวิตเรามากที่สุด ดังนั้นจึงมีวัยรุ่นเป็นจำนวนมากที่ตัดสินใจเลือกเรียนเพ่อการประกอบอาชีพตามเพื่อนเพียงเพราะว่า ต้องการเรียนหรืออยู่ร่วมกลุ่มเดียวกันเพื่อนที่ใกล้ชิด เพื่อนอาจให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ แต่เราจำเป็นต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตนเองมากที่สุด
5. โอกาสที่จะเข้าทำงาน
ในปัจจุบันในการเลือกเรียนอะไรก็ตาม เราจะต้องคำนึงถึงโอกาสที่จะทำงานด้วย เช่น อาชีพครูในปัจจุบันจะมีการแข่งขันเพื่อสอบคัดเลือกเข้าทำงาน โดยมีผู้สมัครจำนวนมากที่ตำแหน่งน้อย โอกาสที่จะเข้าทำงานจึงยาก ถ้าเราเลือกเรียนเพื่อประกอบอาชีพนี้ก็จะต้องมั่นใจตนเอง ว่ามีระดับสติปัญญา มีความสามารถสูงกว่าธรรมดา เพื่อจะมีโอกาสที่จะได้มีงานทำ
6. การเลือกอาชีพจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาในด้านสุขภาพด้วย
คนที่สายตาสั้นไม่ควรเลือกอาชีพที่จะต้องใช้สายตามาก หรือในการประกอบอาชีพบางอย่างไม่รับคนที่มีปัญหาในทางสายตา เช่น อาชีพ แอร์โฮสเตส คนที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ฝุ่น แพ้ผงละออง ไม่ควรเลือกอาชีพที่ทำให้ต้องอยู่กับสิ่งที่จะทำให้เกิดแพ้ เช่น อาชีพช่างตัดผม เสริมสวย ช่างก่อสร้าง เป็นต้น
7. สติปัญญาหรือความสามารถ
การเรียนวิชาชีพขั้นสูงจำเป็นต้องอาศัยสติปัญญา ซึ่งอาจดูได้จากระดับคะแนนหรือผลการเรียนที่ผ่านมา นอกจากนั้นการสอบได้คะแนนสูงๆ ในวิชาใดก็พอจะชี้ให้เรารู้ได้ว่ามีแนวน้าที่จะเรียนได้ดี มีความสามารถสูงในวิชานั้นซึ่งควรนำมาพิจารณาเพื่อการตัดสินใจด้วย
8. ทุนทรัพย์ในการเตรียมตัวเพื่อการประกอบอาชีพนั้นๆ
ถ้าเราต้องการเป็นวิศวกร เราต้องเรียนวิศวกรรมในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูงมาก ผู้ปกครองมีทุนเพียงพอได้หรือไม่ เราจะสามารถหาทุนได้จากแหล่งใด
9. ข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวกับอาชีพที่เลือก โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะงาน คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพนั้น แนวโน้มในอนาคต รายได้หรือผลตอบแทน ข้อจำกัดและความเสี่ยง โอกาสก้าวหน้า วัยรุ่นจะต้องรู้จักนำข้อมูลหลายๆ ด้านมาเปรียบเทียบแล้วจึงตัดสินใจ นอกจากนั้นวัยรุ่นควรพิจารณาความรู้สึกของตนเองให้ถ่องแท้ เนื่องจากในช่วงวัยรุ่นความสนใจและความต้องการอาจจะมีลักษณะที่หวือหวา ไม่มีการไตร่ตรองโดยแท้จริง การเลือกอาชีพนอกจากจะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เรายังพบว่าลักษณะการเลือกอาชีพของวัยรุ่นมักเลือกเพราะอิทธิพลจากสื่อมวลชน และผู้ปกครอง เพื่อนฝูงอีกด้วย
ที่มา : http://guidance.obec.go.th/?p=1051

แนวทางการพัฒนาตนเอง
          แนวทางในการพัฒนาตนเองมีคุณลักษณะ ด้าน ดังนี้
          1. การแต่งกาย  การเอาใจใส่ดูแลการแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ทันสมัย รู้จักเลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับรูปร่าง สถานที่ เวลา จะทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น และผู้ที่พบก็อย่างคุยด้วย ผู้ที่แต่งตัวรุ่มร่ามมาเหมาะสมกับกาลเทศะ อาจทำให้ถูกตำหนิหรือวิจารณ์ได้ และท่าทางก็เป็นสิ่งสำคัญควรระมัดระวังตนเองให้มีกิริยามารยาทที่ดี เดินด้วยท่าทางที่สง่าผ่าเผย และหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกเชื่อถือมากขึ้น
          2. ความคิด  การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทำให้มองโลกกว้างขึ้น รู้สึกมีชีวิตมีคุณค่าไม่น่าเบื่อหน่าย การพัฒนาความคิดทำได้โดย
                   - ค้นหาความสนใจของตนเองเพื่อให้ทราบว่าชอบศึกษาค้นคว้าเรื่องอะไร
                   - รวบรวมความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจให้มากที่สุด
                   - ติดตามความก้าวหน้าหาความรู้ด้านนั้นๆ ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
                   - หมั่นอ่าน ทบทวนความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน
          3. การควบคุมตนเอง สังคมจะไม่ยอมรับผู้ที่ไม่ควบคุมตนเอง มีท่าทางฉุนเฉียว ก้าวร้าวเกินควร ในทางตรงกันข้ามสังคมจะยกย่องนับถือผู้ที่อดกลั้น ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ การฝึกควบคุมตนเองต้องพยายามคิดก่อนทำโดยคิดว่าสิ่งที่อยากทำกับสิ่งที่ควรทำเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ถ้าสิ่งที่อยากทำเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ก็ต้องตัดละทิ้งออกไป การคิดก่อนทำจะทำให้ไม่เสียใจในภายหลัง และได้ทำในสิ่งที่มั่นใจยิ่งขึ้น
          4. การผูกมิตร ความสุขอย่างหนึ่งคือ การได้เป็นมิตรกับผู้อื่น นอกจากจะเป็นเพื่อนไม่ได้ เหงาและว้าเหว่แล้ว มิตรยังให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือดร้อน การผูกมิตรมีหลักการ ดังนี้
                   - เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก คือ ผูกมิตรกับผู้ที่ต้องการคบหาสมาคมกับเรา ถูกนิสัยใจคอกัน และสุดท้ายคือ บุคคลที่เราต้องการคบหาด้วย
                   - ควรเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร สิ่งสำคัญคือ ไม่มีใครชอบบุคคลที่พูดมาก อวดรู้ ดูถูกหรือชอบตำหนิผู้อื่น ทุกคนตองการให้ผู้อื่นยกย่องชมเชย ชอบให้ผู้อื่นฟังเมื่อตนพูด และจะสนใจเรื่องราวของตนเองมากกว่าผู้อื่น ทุกคนชอบผู้ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
                   - ทักทายผู้อื่นเสมอ อย่าลืมกล่าวคำว่า ขอโทษ ขอบคุณ และให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
    เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน 
          อันดับแรกในการ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน คือการแต่งกายให้เรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์เกิดความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ โดยส่วนใหญ่การสัมภาษณ์งานจะค่อนข้างเป็นทางการ ดังนั้น การเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ควรแต่งกายให้ดูสะอาด เรียบร้อย และก่อนออกจากบ้าน ควรสำรวจตัวเองอีกครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองค่ะ

    หัวข้อสัมภาษณ์งาน 
          หัวข้อสัมภาษณ์งาน ก็เป็นอีกเรื่องที่ผู้ไปรับสัมภาษณ์งานควรศึกษาและ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้พร้อม เพื่อเวลาถูกสัมภาษณ์จะได้ไม่ตื่นเต้นและเกิดอาหารประหม่า
          ทั้งนี้หลักในการตอบคำถาม หัวข้อสัมภาษณ์งาน ควรตอบให้ตรงประเด็น กระชับ ได้ใจความ มีความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงยกตัวอย่างเพื่อให้คำตอบชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญข้อมูลต้องถูกต้องและเป็นความจริงด้วย และวันนี้เรามีตัวอย่าง หัวข้อสัมภาษณ์งาน มาให้อ่าน และแนะนำไปปรับใช้เวลาสัมภาษณ์งานมาฝากค่ะ




 เล่าประวัติเกี่ยวกับตัวคุณ 
          แนะนำว่าคุณควรใช้เวลาในการแนะนำตัวเองเพียงสั้น ๆ แค่ 2-3 นาทีพอ เน้นแบบกระชับได้ใจความ รวมถึงบอกว่าตัวเองเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นง่าย รู้จักปรับตัว ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น และเรียนรู้เร็ว
          ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เล่าทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวคุณตั้งแต่สมัยเรียนประถม จนถึงทำงาน โดยไม่มีอะไรน่าสนใจ หรือไม่มีอะไรเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่คุณสมัครมา

2. ทำไมคุณถึงคิดว่าเหมาะกับงานนี้
          หัวข้อนี้แนะนำให้เล่าประสบการทำงานที่ผ่านมา และความสามารถที่เกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่คุณสมัครมา ว่าอะไรที่ทำให้คุณเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้  และคุณมีจุดเด่นเหมาะกับงานตำแหน่งนี้มากกว่าคนอื่น ๆ ตรงไหนบ้าง
          สำหรับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน ก็ให้บอกจุดเด่นในการทำกิจกรรมในสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา หากคุณไม่ค่อยทำกิจกรรม อาจบอกว่าเพราะคุณทุ่มเทกับเรื่องเรียน พร้อมยกตัวอย่างเกรดเฉลี่ยสวย ๆ หรือวิชาที่คุณเรียนแล้วได้เกรดดี ๆ และเหมาะกับตำแหน่งงานมาประกอบการอธิบายก็ได้

          อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ตอบคำถามสั้น ๆ และไม่มีเหตุผลอธิบายประกอบ เช่น "ด้วยประสบการณ์ทำงาน 2 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าสามารถทำงานนี้ได้"

3. คุณคิดว่าตำแหน่งนี้ต้องรับผิดชอบงานอะไรบ้าง
          แนะนำว่า คุณควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตงานในตำแหน่งที่คุณไปสัมภาษณ์ก่อน และเวลาตอบต้องสั้น กระชับได้ใจความ  อย่าตอบคำถามแบบมั่นใจในตัวเองจนเกินไป หรือตอบแบบสร้างภาพพจน์ไม่ดีให้กับตัวเอง เช่น "ทราบมาว่าที่นี่กำลังขาดผู้จัดการฝ่ายการตลาด ด้วยประสบการณ์งาน 3 ปีในด้านนี้ ทำให้คิดว่าสามารถแก้ปัญหานี้ได้"

4. คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง
          อันดับแรกที่คุณต้องไปสัมภาษณ์งาน สิ่งที่คุณควรรู้คือ ข้อมูลองค์กรที่คุณจะไปสัมภาษณ์ รวมถึงขอบเขตงานในตำแหน่งงาน ที่ เช่น ผลิตภัณฑ์ กลุ่มลูกค้า คู่แข่ง ภาพลักษณ์องค์กร ที่มาและประวัติขององค์กร ฯลฯ
          อย่างไรก็ตาม คำตอบไหนที่คุณไม่แน่ใจ อย่าพยายามที่จะตอบ เพราะอาจจะทำให้ผู้สัมภาษณ์งานรู้ได้ว่า คุณไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรและตำแหน่งงานมา หากคำตอบไม่แน่ใจ คุณอาจจะถามกลับผู้สัมภาษณ์งาน เพื่อให้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ แต่ทั้งนี้อย่าลืมบอกว่า คุณได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรมา และความสนใจที่อยากจะทราบเกี่ยวกับองค์กรเพิ่มเติม

5. อะไรคือจุดมุ่งหมายระยะยาวในการทำงานของคุณ
          แนะนำให้พูดถึงสิ่งที่อยากทำในอนาคต และต้องบอกวิธีที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ซึ่งควรจะเกี่ยวข้องกับงานที่สัมภาษณ์อยู่ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ตอบในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัครอยู่  เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ

6. ถ้าได้งานนี้ คุณคิดว่าจะทำงานที่นี่นานเท่าไหร่
          ควรตอบคำถามที่เน้นและพุ่งประเด็นไปที่การทุ่มเทงานของคุณ เช่น อาจจะตอบว่าตราบใดที่งานมีความยากและท้าทาย ก็จะขอจะทุ่มเทความสามารถของตัวเองให้เต็มที่ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับองค์กร อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบอกระยะเวลาไป เช่น มีแผนไปเรียนต่ออีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือทางบ้านมีแผนให้ไปช่วยธุรกิจที่บ้าน

7. อะไรคือจุดอ่อนของคุณ
          ควรเลือกจุดอ่อนที่เป็นความจริงและกำลังปรับปรุงหรือพัฒนา เช่น ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง  ซึ่งตอนนี้กำลังเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

8. ทำไมคุณถึงลาออกจากงานเก่า
          ตอบความจริงให้มากที่สุด แต่ถ้าความจริงมันเลวร้ายก็อย่าตอบหมด เนื่องจากว่าผู้สัมภาษณ์ อาจขออนุญาตติดต่อบุคคลอ้างอิงเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้น  ทั้งนี้แนะนำว่า ไม่ควรวิพากษณ์วิจารณ์เกี่ยวกับองค์กร เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานเก่าที่คุณลาออกมา เพราะมันจะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณดูไม่ดี

9. อะไรคือสิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบในงานเก่า (หรืองานที่กำลังทำอยู่)
          แนะนำว่าควรบอกสิ่งที่ชอบมากกว่าสิ่งที่ไม่ชอบ และให้คำอธิบายรวมถึงเหตุผลว่าทำไมเราจึงคิดเช่นนั้น และไม่แนะนำให้บอกในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องงาน หรืออ้างอิงถึงบุคคล เพราะนั่นหมายถึงคุณกำลังวิจารณ์คนอื่น และไม่จำเป็นต้องเล่าทุกอย่างที่แย่ ๆ เกี่ยวกับงาน เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา

10. อะไรคือสิ่งที่คุณประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต
          คุณอาจพูดถึงการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งในการทำงาน หรือตลอดระยะเวลาที่ทำงานมามีแต่ความราบรื่นไม่เคยมีปัญหากับลูกค้า หรือเพื่อนร่วมงาน ถ้าเป็นผู้สมัครที่เพิ่งจบการศึกษา อาจจะพูดถึงเกรดเฉลี่ย หรือความภาคภูมิใจที่สามารถสอบเข้ามหาลัยที่มีชื่อเสียงได้

11. คุณมีวิธีจัดการกับความกดดันอย่างไร 
          คำตอบที่ควรตอบคือ บอกว่า ต้องตั้งสติ ไม่ร้อนรนไปกับสิ่งที่มากดดันให้เกิดความเครียด แต่ควรแปรความกดดันเป็นพลังงานที่จะนำไปพัฒนาสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ตลอดจนผลักดันให้ตัวคุณก้าวข้ามอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จให้จงได้ พร้อมยกตัวอย่างวิธีจัดการกับความกดดันที่เคยเกิดขึ้นกับคุณ

12. คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่ 
          แนะนำให้คุณลองสืบข้อมูลดูก่อนว่าส่วนใหญ่ด้วยตำแหน่งและประสบการณ์ทำงานเงินเดือนเท่าไหร่ แล้วเสนอเป็นระดับช่วงเงินเดือนจะดีกว่าระบุเป็นตัวเลขตายตัว เพราะจะทำให้คุณสามารถต่อรองเงินเดือนจากความสามารถเฉพาะตัวของคุณได้ 

13. คำถามสุดท้ายคุณมีอะไรจะถามไหม 
          ตัวอย่างคำถามที่ควรถามเช่น  ตำแหน่งของดิฉันอยู่ในตำแหน่งใดในโครงสร้างของบริษัท, เวลาทำงานปกติคือเวลาใด, กรุณาบอกคร่าว ๆ ถึงเป้าหมายของบริษัท เป็นต้น

          คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน 
  • แนะนำให้ฝึกตอบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื่องจากบางบริษัทอาจจะสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ 
  •  ฝึกตอบคำถามหน้ากระจกและสำรวจบุคลิกภาพของตัวเอง 
  •  เวลาตอบคำถามควรสบตากับผู้สัมภาษณ์  
  •  ไม่ควรเท้าคาง หรือโต๊ะสัมภาษณ์  
  •  ตอบคำถามแบบมั่นใจ พูดจาฉะฉาน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น