วันจันทร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง บ้านของเรา

 บ้านของเรา

ที่มา : http://i18.photobucket.com/albums/b121/nature-delight/010-a-beach-cottage--in-Hawaii.jpg
บ้านที่น่าอยู่อาศัยของทุกคนในครอบครัว ในบ้านมีห้องต่างๆ และสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกสบายมากมาย บางบ้านอาจมีพื้นที่รอบบริเวรบ้านกว้างขวางสำหรับปลูกต้นไม้และมีสนามหญ้าซึ่งหากไม่ดูแลรักษาและทำความสะอาดบ้าน บ้านจะดูทรุดโทรม สกปรกรกรุงรัง และไม่น่าอยู่อาศัย
การดูแลรักษาทำความสะอาดบ้าน
1.       การทำบ้านให้น่าอยู่
บ้านเป็นสถานที่ให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่อาศัยพักผ่อนนอนหลับ  ให้ความปลอดภัย    ความสบายกายและความสบายใจแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว  บ้านแต่ละหลังมีรูปแบบการสร้างที่แตกต่างกันด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง  ลักษณะของบ้านจะเป็นเช่นไร  สมาชิกในบ้านก็สามารถทำให้บ้านน่าอยู่  น่าอาศัยได้  ด้วยการเอาใจใส่ดูแลรักษาทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ  ดังนั้นการทำความสะอาดบ้านให้มีสภาพเรียบร้อย จนเป็นที่สะดุดตาก็สามารถดึงดูดความสนใจให้สมาชิกในครอบครัวไดอยู่อาศัยอย่างมีความสุขมากกว่าบ้านที่ขาดการรักษาความสะอาด
1.1     การทำความสะอาด
ความสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านน่าอยู่  การทำความสะอาด  ปัดกวาด  เช็ดถูเป็นประจำ  ทำให้เครื่องเรือนเครื่องใช้ปราศจากความสกปรกแม้แต่บริเวณบ้าน  รั้ว  สนาม  ทางเดินเข้าบ้านสะอาด  ร่มรื่น  ปราศจากขยะมูลฝอยต่าง ๆ
1.2     การสร้างความสะดวกสบาย
จัดแบ่งพื้นที่บริเวณบ้านให้เกิดการใช้สอยที่เป็นสัดส่วน เดินไปมาสะดวกและมีแสงแดดส่องถึง  ระบายอากาศได้ดี  มีการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้อำนวยความสะดวกไว้อย่างเหมาะสม  สะดวกในการหยิบใช้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ
1.3     การตกแต่งให้สวยงาม
นอกจากการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เหมาะสมดังที่กล่าวในข้อที่ผ่านมา การจัดตกแต่งให้เป็นระเบียบ ไม่เกะกะ  การจัดวางสิ่งของให้เกิดความสมดุล  การใช้สี  การตกแต่งผ้าม่าน  เพื่อให้ดูสบายตาก็สามารถทำให้บ้านสวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น
1.4     การจัดบ้านให้เกิดความปลอดภัย
การจัดบ้านให้มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ  เช่น  มีลูกกรงที่ระเบียงกันพลัดตกบันไดให้แข็งแรง  เก็บยา  สารเคมีให้พ้นจากมือเด็ก ทำความสะอาดบ้าน  บริเวณบ้านให้ปราศจากตะไคร่จับทำให้ลื่นในขณะทำกิจกรรม ปลูกบ้านห่างไกลจากสิ่งปฏิกูลและแหล่งแพร่เชื้อโรคหรือมีวิธีการป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม  ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี้ยงได้
2.       การวางแผนใช้ทรัพยากรในการทำความสะอาด
ทรัพยากรในการทำความสะอาดที่มีอยู่ภายในบ้าน  ควรคำนึงถึงการวางแผนการทำ
ความสะอาดทั้งภายในและภายนอกบ้าน มีดังนี้
2.1      เวลาที่จะใช้ในการทำความสะอาด
2.2      แรงงานที่จะใช้ในการทำความสะอาด
2.3      วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่จะใช้ในการทำความสะอาด
การทำความสะอาดทั้งภายในบ้านและบริเวณภายนอกตัวบ้าน จะมีประสิทธิภาพสูงสุด          ก็ต่อเมื่อผู้ทำความสะอาดได้วางแผนการทำงานอย่างรอบคอบและรัดกุม ลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้  ตรวจสอบการทำงานและประเมินผลการทำงานในทุก ๆ งานที่ได้ทำไป ว่าได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่  เพื่อจะได้พิจารณาปรับปรุงทั้งการวางแผนการทำความสะอาดและวิธีการทำงานในคราวต่อไป การวางแผนในการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดคือ การใช้เวลา แรงงานและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดความสูญเสียทรัพยากรทั้งสามประการที่ไม่จำเป็นลงได้
3.       การเลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำความสะอาดบ้าน
อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้ในการทำความสะอาดบ้าน       ทั้งภายในตัวบ้านและบริเวณภายนอกตัวบ้านนั้น  สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
3.1      อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปัดกวาด  ได้แก่
–   ไม้กวาดดอกหญ้า
–   ไม้กวาดทางมะพร้าว
–   ไม้กวาดด้ามยาวหรือไม้กวาดเสี้ยนตาล
–   ไม้กวาดขนไก่
–   ไม้กวาดไม้ไผ่
–   เครื่องดูดฝุ่น
3.2      อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเช็ด  ขัดและถู     
–   ผ้าสำหรับเช็ดถู
–   ฟองน้ำ
–   แผ่นขัด
–   แปรงพลาสติก
–   แปรงกาบมะพร้าว
–   ไม้ถูพื้นธรรมดา
–   ไม้ถูพื้นชนิดซักและบิดในตัว
การจัดตกแต่งบ้าน
1. ความปลอดภัย ในการจัดตกแต่งบ้านควรคำนึงถึงความปลอดภัยของสมาชิกในบ้าน โดยการเลือกเครื่องตกแต่งบ้านที่ไม่มีมุมแหลม ไม่แตกหักง่าย ไม่เกะกะทางเดิน และควรป้องกันอันตรายที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น เช่น จักว่างตู้ยาไว้ในที่สูง และจัดเก็บสารเคมี ยาฆ่าแมลงในบ้านให้พ้นมือเด็ก รวมทั้งไม่จัดของขวางทางเดิน ไม่ขัดพื้นจนเป็นเงามัน เพราะว่าจะลื่นหกล้มหรือตกบันไดได้ นอกจากนี้ การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าตลอดการเดินสายไฟฟ้า จะต้องอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย 
2. ถูกสุขลักษณะและสะอาด ในการจัดบ้านจะต้องจัดให้อากาศถ่ายเทสะดวกไม่ควรจักว่างสิ่งของปิดบังทิศทางลม และจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มืดทึบ รวมรวมทั้งควรทำความสะอาดเครื่องตกแต่งบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อสุขอนามัยของคนในบ้าน 
3. สะดวกในการใช้สร้อย ในการจัดตกแต่งบ้านควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยการจัดทางเดินต่างๆ ชองบ้านให้สัมพันธ์กันสามารถเดินไปมาได้สะดวกจัดหาเครื่องที่มีขนาดและจำนวน เหมาะสมสมกับเนื้อที่ เลือกเครื่องที่สะดวกในการใช้สร้อยและทำความสะอาดได้ง่าย เช่น เครื่องเรือนที่มีล้อ สามารถเคลื่อนยัายไดัและจัดอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ให้สะดวกต่อการหยิบใช้ เช่น ไม่ว่างเครื่องมือเครื่อง ใช้ที่ใช้บ่อยๆ ในที่สูงเกินมือเอื้อมถึง และจัดอุปกรณ์ให้เป็นหมวดหมู่ เป็นต้น
4. ความสบาย การจัดตกแต่งบ้านให้ให้มีเครื่องช่วยป้องกันความจ้าของแสงแดด เช่น ม่าน มู่ลี่ มีช่องระบายความร้อน และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถมองเห็นทิวทัศน์ในบ้านหรือนอกบ้านที่ทำให้เกิดความเพลินได้ เป็นต้น
5.ความมีระเบียบและความสวยงาม ในการจัดตกแต่งเครื่องเรือนควรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งของที่จัดว่างมากเกินไป และสิ่งของที่จัดว่างไม่เป็นระเบียบจะทำให้ความสวยงามลดลงนอกจากนี้นอกจาก การตกแต่งบ้าน ควรนำเรื่องการใช้สีซึ่งเป็นหลักการศิลปะมาใช้จะทำให้บ้านสวยงามน่าอยู่ยิ่งชึ้นควรนำไม้ ดอกไม้ประดับมาใช้ตกแต่งบ้าน เพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่น ใส่แจกันดอกไม้สด ไม้ประดับแบบแชวน เป็นต้น 
งานช่างในบ้าน
งานช่างในบ้านเป็นงานที่เกี่ยวกับการติดตั้งประกอบ และซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน ซึ่งงานช่างบางอย่างสมาชิกในครอบครัวสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
ทักษะที่ต้องใช้ในงานช่าง
1. ทักษะการแสวงหาความรู้
2. ทักษะเฉพาะอาชีพ
3. ทักษะการจัดการในการทำงาน
4. ทักษะการแก้ปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู้
คำสั่ง จงตอบคำถามต่อไปนี้ทุกข้อ
1.  ภาชนะที่มีคราบดำหรือมีความสกปรกมากควรทำความสะอาดอย่างไร
2.  การใช้แผ่นฟองน้ำล้างจานมีข้อดีอย่างไร
3.  แปรงลวดเหมาะสำหรับทำความสะอาดพื้นผิวลักษณะใด
4.  การใช้สารทำความสะอาดมีหลักการใช้อย่างไร 
5.  การปัดกวาดบ้านมีหลักการปฏิบัติอย่างไร
6.  การทำงานบ้านควรมีความระมัดระวัง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานในเรื่องใดบ้าง 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น